สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการขนส่ง คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ได้ดำเนินการจัดทำบล็อกดังกล่าวนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1.เพื่อรวบรวมบทความที่น่าสนใจด้านโลจิสติกส์และการจัดการระบบซัพพลายเชนให้กับบุคคลที่สนใจทราบ 2.เพื่อประชาสัมพันธ์งานวิจัยของนักศึกษาในสาขาให้กับบุคคลทั่วไปได้ทราบ ซึ่งมีทั้งส่วนที่มาจากการศึกษาในสถานประกอบการของสหกิจศึกษา และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

MARKETING CASE STUDY

       ด้วยที่มีพี่คนหนึ่งได้ส่งเมล์ Case Study ดังกล่าวเกี่ยวกับการแข่งขันทางการตลาดระหว่างห้างค้าปลีกบิ๊กเนม 2 แห่งมาให้อ่าน  เพื่อต้องการให้คนที่ไม่ได้เคยได้อ่านเคสนี้ได้มีโอกาสรับรู้  กระผมจึงขอนำเคสนี้มาเผยแพร่  โดยไม่ได้มีการตัดต่อใดทั้งสิ้นครับ

MARKETTING CASE STUDY
กลยุทธ์ทางการตลาดที่ น่าศึกษาเรื่องหนึ่งในการทำโปรโมชั่น...
         คือเรื่องมันเริ่มต้นที่ ... 
         คาร์ฟูร์ถูกซื้อกิจการในประเทศไทยโดยกลุ่มคาสิโน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบิ๊กซี ไฮเปอร์มาร์เก็ตนัมเบอร์ 2 ของตลาดเมืองไทย อย่างที่ได้เห็นได้อ่านกันตามสื่อต่างๆ ทุกแขนงนะครับ



         หลังจากที่กิจการถูกควบรวมกันก็ได้มีการปรับผังองค์กร และวางกลยุทธ์ รวมไปถึงแนวทางใหม่ๆ ให้กับคาร์ฟูร์และบิ๊กซีเพื่อผนึกกำลังกันในการต่อสู้กับเจ้าตลาดอย่าง เทสโก้ โลตัส โดยทางผู้บริหารของบิ๊กซีก็ได้วางแพลนที่จะค่อยๆ เปลี่ยนคาร์ฟูร์ที่มีสาขาอยู่ในจุดสำคัญๆ ให้เป็นบิ๊กซี  และหนึ่งในกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ออกมาก่อนเป็นอย่างแรกคือ
"คูปอง"


          คาร์ฟูร์และบิ๊กซีได้ออกแคมเปญคู่กัน "ผนึกกำลังสนั่นวงการ ช็อปสะใจคืนกำไร 2 ห้าง" โดยเมื่อซื้อสินค้าครบ 800 บาท จะได้รับคูปองมูลค่า 80บาทสามารถที่จะนำคูปองนี้ไปใช้ลดราคาได้ทั้งคาร์ฟูร์และบิ๊กซี



           (รายละเอียดในดอกจัน *จำกัดการแลกคูปอง 5 ใบ/1 ใบเสร็จ/ครอบครัว *คูปองส่วนลด 80 บาทใช้ในการซื้อสินค้าที่บิ๊กซีและคาร์ฟูร์ทุกสาขาในครั้งต่อไปที่ยอดซื้อตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป *จำกัดยอดใช้สูงสุด 5 ใบ โดยไม่เกินยอดซื้อในใบเสร็จนั้นๆ ภายในวันที่ระบุในคูปอง *ยกเว้นสินค้าแผนกสุรา บุหรี่ เครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟโรบัสต้าเบอร์ดี้บิ๊กแพค บัตรกำนัล บัตรโทรศัพท์แบบเติมเงิน น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ร้านค้าในพลาซ่า ศูนย์อาหาร ลูกค้าค้าส่ง สินค้าเงินผ่อนทุกประเภท บิ๊กซีจูเนียร์ สระบุรี พังงา มินิบิ๊กซี คาร์ฟูร์ซิตี้ คาร์ฟูร์มาร์เก้ตสาขาหทัยราษฎร์ เคหะร่มเกล้า)

             โดยมีวัตถุประสงค์คือ ค่อยๆ Shift Shoppers จากคาร์ฟูร์มาที่ บิ๊กซีนั่นเอง
(โยกย้ายกลุ่มลูกค้าให้มายังบิ๊กซี)




           แต่เจ้าตลาดอย่างเทสโก้ ก็ไม่นิ่งนอนใจกับกลยุทธ์ดังกล่าว  จึงได้ออกแคมเปญออกมาเพื่ออาศัยจังหวะนี้ ดึงลูกค้าจากคาร์ฟูร์มายังเทสโก้
              เทสโก้ออกแคมเปญนำคูปองคาร์ฟูร์ มาเพิ่มมูลค่า 2 เท่า จาก 80 บาท เป็น 160 บาท เมื่อใช้คู่กับTESCO Clubcard โฆษณาอย่างยิ่งใหญ่ลงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันจันทร์ที่ 24 ม.ค. 2554



(รายละเอียดในดอกจัน *นำส่วนลดคูปองคาร์ฟูร์มาติดต่อที่จุดแลกคูปองเพื่อเพิ่มมูลค่า ตามเงื่อนไขที่เทสโก้โลตัสกำหนด *คูปองส่วนลดนี้ต้องใช้คู่กับบัตรคลับการ์ดเท่านั้น *ใช้ซื้อสินค้าเทสโก้โลตัสและร้านคุ้มค่าที่มียอดรวมมากกว่า 600 บาทขึ้นไป ในระหว่างวันที่ 24-28 ม.ค. 2554/1 ใบเสร็จ * สินค้าที่ลดไม่ได้ บุหรี่ สุรา ยกหีบ บิลเพย์เม้น บัตรเติมเงิน บัตรของขวัญ บริการไปรษณีย์ เวชภัณฑ์ ศูนย์อาหารและสินค้าทั้งหมดในบริเวณพื้นที่เช่า *จำกัดการใช้คูปอง 5 ใบ/1 ใบเสร็จ (ส่วนลดสูงสุด 800บาท / 1 ใบเสร็จ) *บริษัทสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโปรโมชั่นโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า)



ทุ่มทุนสร้าง ชิงลูกค้ากันต่อหน้าต่อตา
เข้าทำนอง "ชุบมือเปิบ"
ถ้าเป็นนักการตลาดหลายๆ ท่าน คงต้องยกนิ้วให้กับเจ้าของไอเดียดังกล่าวเรียกได้ว่า ฉลาดแกมโกงนิดๆ ทีเดียว แถมถ้าเราเป็นผู้บริหารทางฝั่งบิ๊กซี กับ คาร์ฟูร์ เราก็หนาวๆ ร้อนๆ ไปตามกัน
......
.....
...
..
.
แต่เหนือฟ้ายังมีฟ้า
คาร์ฟูร์ทำ เค้าเตอร์โปรโมชั่นตอกหน้ากลับแคมเปญดังกล่าวของเทสโก้โดยลงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 25 ม.ค. (วันจันทร์ตอนเย็น) ทันที  ช้อปคาร์ฟูร์ 1,000 บาท ได้สิทธิ์พิเศษรับคูปองไปเลย 400 บาท (จากเดิม800 บาท ได้ 80บาท) เพื่อนำไปใช้ที่ห้างอื่น (เทสโก้) ซึ่งมูลค่าคูปองจะถูกเพิ่มเป็น 2 เท่า !!! แถมคิดสมการความคุ้มให้เรียบร้อย คูปอง 80 บาท = 160 บาท ที่ห้างอื่นซื้อของ 800 บาท ใช้คูปอง ได้ 5 ใบ = 160 x 5 = 800 บาท เพราะฉะนั้นจ่ายจริงเพียง 0 บาท !!!!



ขอสรุป Process ของโปรโมชั่นทั้ง 2 ให้ฟังนะครับ 1. คาร์ฟูร์ได้ยอดขาย ที่ลูกค้ามาซื้อสินค้าห้างตนเอง
2. ลูกค้าได้รับคูปอง 400 บาท จากคาร์ฟูร์
3. คาร์ฟูร์บอกให้ลูกค้าไปใช้คูปองที่เทสโก้ จะได้มูลค่าสุงถึง 800 บาท ทำให้คาร์ฟูร์และบิ๊กซีไม่ต้องแบกรับภาระการ Rebate เงินจากคูปอง
4. ลูกค้าซื้อของเทสโก้ 800 บาท โดยใช้คูปองซื้อ โดยไม่เสียเงินซักบาทเดียว
5. เทสโก้ เสียเงินค่าคูปองเข้าเนื้อเน้นๆ โดยไม่ได้เงินคืนจากลูกค้าเลย


ขอโทษนะครับอยากใช้ภาษาที่ผมใช้บ่อยมากๆ
คาร์ฟูร์ (บิ๊กซี) แม่...โหดสัส มันแสบตรงที่ดอกจันตัวเล็กๆ ด้านขวาล่างล่ะครับ

*เงื่อนไขการใช้คูปองส่วนลดคาร์ฟูร์ที่ห้างอื่นเป็นไปตามที่ห้างอื่นกำหนดไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันจันทร์ที่ 24 ม.ค. 2554  สะใจโจ๋กันไปตามๆ กันครับ เรามาดูกันว่าหลังจากวันนี้ไป เทสโก้จะมีโปรโมชั่นอะไรมาแก้ไขกลยุทธ์ เค้าร์เตอร์แบบนี้หรือเปล่า แต่ผมว่าตอนนี้ทางผู้บริหารการตลาด เหงือกแห้ง ตีนก่ายหน้าผากอยู่ในห้องทำงานตอนนี้แน่นอนครับ


แต่สำหรับผม อีกสองวัน เจอกันที่คาร์ฟูร์...
และต่อด้วยเทสโก้ โลตัสครับ
สรุปคือเราช้อป 1000 บาทที่คาร์ฟูแล้วไปรับของฟรี 800 ที่โลตัส(มีคลับการ์ด)

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนในการดำเนินการจัดทำโครงงานปริญญานิพนธ์

    ในการนำเสนอโครงงานปริญญานิพนธ์ ให้นักศึกษาดำเนินการตามข้อกำหนดและขั้นตอนต่อไปนี้

1. การจัดทำเค้าโครงโครงงานปริญญานิพนธ์

    เค้าโครงโครงงานปริญญานิพนธ์  ประกอบด้วย
    1)**หัวข้อปริญญานิพนธ์
    2)**ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (ให้นิยามปัญหาและความสำคัญของปัญหาความจำเป็นที่คิดใช้การวิจัยมาแก้ปัญหา)
    3)**วัตถุประสงค์ (ระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัด ถ้ามีการศึกษาตัวแปรให้ระบุสมมติฐานในการทำไว้ด้วย)
    4)**ขอบเขตของโครงการ(ให้ระบุขอบเขตพื้นที่, เนื้อหา หลักสูตรทุกปี ภายใต้มาตรฐาน และ/หรือเวลาในการศึกษา)
    5)**วิธีการดำเนินงาน (ให้ระบุการออกแบบ ขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการแปรผล)
    6)**ประโยชน์ของการทำโครงงาน (ให้ระบุอย่างเด่นชัดว่าผลที่ได้จากการทำโครงงานคืออะไร จะนำเสนอผลหรือประโยชน์ในการแก้ปัญหาได้อย่างไร)
    7)**รายชื่อเอกสารอ้างอิง (ระบุชื่อเอกสารต่างๆ ที่ใช้เป็นหลักในการทำโครงงานตามรูปแบบที่ระบุไว้ในคู่มือการจัดทำปริญญานิพนธ์)

2. การสอบหัวข้อโครงงานปริญญานิพนธ์
    นักศึกษายื่นคำร้องขอสอบหัวข้อโครงงานปริญญานิพนธ์ (บป.01) พร้อมส่งแบบสรุปผลการพิจารณาประเมินผลโครงงานปริญญานิพนธ์  (บป.05) และอาจารย์ที่ปรึกษาลงนามให้ความเห็นชอบแล้วมายังสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง      ทางสาขาวิชาจะพิจารณาอนุมัติภายใน 5 วันทำการ (จากการที่นักศึกษารุ่นนี้มีจำนวนมาก จึงลดเหลือ 2 วัน)

3. ขั้นตอนการสอบหัวข้อปริญญานิพนธ์
    สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง มีข้อกำหนดและขั้นตอนการดำเนินการในการสอบหัวข้อปริญญานิพนธ์ ดังนี้
    1)**นักศึกษายื่นคำร้องขอสอบหัวข้อปริญญานิพนธ์ (บป.01พร้อมโครงงานย่อ (บป.04) แบบสรุปผลการพิจารณาประเมินโครงงานปริญญานิพนธ์ (บป.05) และแบบโครงงานปริญญานิพนธ์ (บป.06) เสนอต่อสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง    ก่อนกำหนดวันสอบอย่างน้อย 5 วันทำการ
    2)**เมื่อนักศึกษาได้สอบหัวข้อปริญญานิพนธ์ผ่านเรียบร้อยแล้ว ให้ประธานกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ส่งผลการสอบมายังสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง    ภายใน 3 วันหลังการสอบ เพื่อให้สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง  อนุมัติ
    3)**การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกี่ยวกับโครงงานปริญญานิพนธ์ภายหลังจากการสอบหัวข้อปริญญานิพนธ์ผ่านแล้ว ต้องขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงต่อสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง    โดยการยื่นคำร้องผ่านประธานกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์และหัวหน้าสาขาวิชา
    4)**ในกรณีที่ผลการสอบของนักศึกษาเป็น "ผ่านโดยมีเงื่อนไข" นักศึกษาจะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโครงงานปริญญานิพนธ์ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบ และยื่นคำร้องเสนอโครงงานปริญญานิพนธ์ฉบับแก้ไข (บป.06) พร้อมโครงงานปริญญานิพนธ์ที่ได้ปรับแก้แล้วนั้น โดยให้คณะกรรมการสอบลงนามให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สอบหัวข้อปริญญานิพนธ์ และเสนอสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง เพื่ออนุมัติ
5)**นักศึกษาที่สอบ "ไม่ผ่าน" จะต้องดำเนินการจัดทำโครงงานปริญญานิพนธ์ และสอบหัวข้อปริญญานิพนธ์ใหม่

4. การสอบป้องกันปริญญานิพนธ์
    สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง    มีข้อกำหนดและขั้นตอนการดำเนินการในการสอบป้องกันปริญญานิพนธ์ ดังนี้
    1)**นักศึกษาได้ใช้เวลาในการทำโครงงานปริญญานิพนธ์นับจากวันที่สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง   มีประกาศอนุมัติหัวข้อโครงงานปริญญานิพนธ์
    2)**ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ ให้ทำการขอสอบปริญญานิพนธ์ได้
    3)**นักศึกษาต้องยื่นคำร้องขอสอบป้องกันปริญญานิพนธ์ ตามแบบฟอร์มของสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง (บป.03) พร้อมใบรายงานความก้าวหน้า (บป.02) และปริญญานิพนธ์ฉบับสอบบรรจุในซองสีน้ำตาลให้เรียบร้อย เพื่อสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง จัดส่งให้กรรมการผู้แทนสอบป้องกัน
ปริญญานิพนธ์ (ที่มิใช่คณะกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์)
    4)**นักศึกษายื่นเอกสารตามข้อ 3) ต่อสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และ
การจัดการระบบขนส่ง  ก่อนวันสอบ 15 วันทำการ  ทั้งนี้เพื่อดำเนินการให้คณะกรรมการสอบได้บันทึกเป็นฉบับร่างอ่านล่วงหน้าก่อนวันสอบ
    5)**เมื่อการสอบป้องกันปริญญานิพนธ์ได้เสร็จสิ้นแล้ว ให้ประธานกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ส่งผลการสอบมายังสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง  ภายใน 3 วันหลังการสอบ
    6)**ข้อปฏิบัติอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบและประกาศสาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง   

5 การส่งปริญญานิพนธ์และแผ่นบันทึกข้อมูลบทคัดย่อปริญญานิพนธ์
    นักศึกษาต้องส่งปริญญานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จำนวน 3 เล่ม พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล (CD File PDF 1 แผ่น) และแผ่นบันทึกข้อมูล (CD File Word 1 แผ่น) สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง  จะไม่รับปริญญานิพนธ์ที่ไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดการโลจิสติกส์ที่เราควรรู้


แนวความคิดทางด้านโลจิสติกส์นั้นมีมานานมากแล้ว  โดยจุดเริ่มต้นของการใช้คำนี้มาจากแวดวงทางการทหาร  ที่ใช้ในการส่งสรรพกำลังสนับสนุนการรบ  ตั้งแต่ตัวทหาร ยุทธ์โธปกรณ์ เสบียงอาหาร เสื้อผ้า ไปจนถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ  เพื่อนำมาซึ่งชัยชนะในการรบ  ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  จากหนังสือ The Art of War ของซุนวูได้มีการกล่าวถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางกลยุทธ์และยุทธวิธีในการรบ  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และการบริหารความสัมพันธ์ด้านโลจิสติกส์
ทั้งนี้ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมาเรื่องของโลจิสติกส์กลับมามีการพูดกันมากขึ้นนอกเหนือจากวงการทหาร แต่กลับเข้ามาสู่แวดวงทางธุรกิจ  การบริหารงาน  และการจัดสรรทรัพยาการต่างๆ  ซึ่งสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด คือ หนังสือที่อาจารย์หรือศาสตราจารย์ในชาติตะวันตกได้นำมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น  Business Logistics Management,  Logistics and Supply Chain Management,  Logistics Manage Management,  Industrial Logistics Management เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงนิยาม และความหมาย ของคำว่าโลจิสติกส์ หรือการจัดการโลจิสติกส์มากขึ้น  ผู้เขียนจึงขอนำเสนอความหมายของคำดังกล่าวจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1.  The International Society of Logistics
Logistics is The art and science of management, engineering and technical activities concerned with requirements, design and supplying and maintaining resources to support objectives, plan and operations.
"โลจิสติกส์ คือ ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ  วิศวกรรม  และกิจกรรมทางเทคนิคที่ตระหนักถึงความต้องการ  การออกแบบการจัดหา และบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการสนับสนุนการกำหนดวัตถุประสงค์  การวางแผน และการปฏิบัติการ"
2. Council of Supply Chain Management Professional : 2004
Logistics Management is that part of Supply Chain Management that plans, implements and controls the efficient, effective (forward and reverse) flow and storage of goods, service and related information between the point-of-origin to and point-of-consumption for purpose of conforming to customer’s requirement
"การจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของระบบโซ่อุปทานที่มีกระบวนการในการวางแผน  การนำไปปฏิบัติ  และการควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และการจัดเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูล  จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้ายที่ผู้บริโภค  เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า"
3. Institute of Logistics and Transport
Logistics Management is Providing time and place utility, value of materials and products in support to organization objectives
"โลจิสติกส์ คือ การจัดสรรเวลาและสถานที่ เพื่อใช้ในการสร้างสินค้าให้เกิดมูลค่าขึ้น  เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์"
อย่างไรก็ตามหากผู้อ่านอยากจะจำความหมายของโลจิสติกส์ หรือ การจัดการโลจิสติกส์ขอเสนอแนะให้จำเป็นคำๆ โดยประยุกต์นิยามของ CSCMP  ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการศึกษา  งานวิจัย  เครือข่ายผู้ประกอบการ และกรณีศึกษาต่างๆ ในด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนน์  ดังนี้





 สรุปจากวงล้อ  เริ่มจาก การวางแผน  การนำไปประยุกต์ใช้  การดำเนิงงานจริง  และการควบคุมให้ตามเป้าหมายในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ  การเคลื่อนย้าย  การจัดเก็บ  การรวบรวม และการกระจาย  ของสินค้า  บริการ ข้อมูลข่าวสาร และเงิน  โดยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  ซึ่งต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก  
ดังนั้นเมื่อวงล้อหมุดกลับมาที่จุดเริ่มต้นใหม่  เราก็ต้องใช้ข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาวางแผนการดำเนินงานใหม่  ทำให้วงล้อดังกล่าวเป็นวงล้อที่ไม่มีวันที่สิ้นสุดของการจัดการด้านโลจิสติกส์



กิจกรรมโลจิสติกส(Logistics Activities) 
STOCK and LAMBERT  2 กูรูด้านโลจิสติกส์ที่หลายสถาบัน  ทั้งไทยและเทศ ยอมรับ และนำหนังสือของเขามาใช้สอน ได้กล่าวถึงกิจกรรมในโลจิสติกส์ว่า แบ่งออกเป็น 13 กิจกรรม  และแยกออกอีกเป็น 2 กลุ่ม คือ กิจกรรมหลัก  และกิจกรรมเสริม หรือกิจกรรมสนับสนุกิจกรรมโลจิสติกส   ดังตาราง

แต่หากกลับมามองในธุรกิจแต่ละบริษัทก็มีการประยุกตใชในระดับที่แตกตางกัน บางบริษัทก็ใชเพียงบางกิจกรรม บางบริษัทก็ดําเนินงาน ครบถวนทุกกิจกรรมซึ่งมีหลายกิจกรรม  และเมื่อมีการผสานเข้ากับการบริหารซัพพลายเชนน์แล้ว  ก็สามารถสรุปเป็นภาพกระบวน  ดังนี้



ซึ่งการมองในระดับ Supply Chain  นี้จะไม่เพียงแค่มองเรื่องการจัดการ และการบริหารภายในองค์กรตนเองเท่านั้น  แต่จะเป็นการมองผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการ  ตั้งแต่ผู้ส่งวัตถุดิบให้กับโรงงาน  ไปจนถึงมือผู้บริโภค  ส่วนสาเหตุที่เราเรียกว่า Supply Chain  ไม่ใช่ Demand Chain  ก็เพราะว่าสิ่งที่เป็นตัวการขับเคลื่อนของระบบนี้ คือ สินค้าหรือบริการ ที่บริษัทต้องมีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ( 7Right  in Logistics : Product Quantity Condition Place Time Cost and Customer)  มิใช่ใช่การบริหารต้องการ  แต่เป็นการบริหาร Physical Supply  ตาม Demand





วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

25 อันดับสุดยอด Supply Chains ของโลกประจำปี 2010

 25 อันดับสุดยอด Supply Chains ของโลกประจำปี 2010
เป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจเลยหากจะกล่าวว่า  บริษัทที่เป็นสุดยอดของการบริหารองค์กรที่ดี  ก็จะเป็นผู้นำด้าน supply chain และการสร้างกำไรด้วย 
อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มบริษัทที่อยู่ใน 25 อันดับสุดยอด supply chain ก็จะถูกจัดให้เข้าอยู่กลุ่มบริษัทของ Fortune 500  ด้วยเช่นกัน  ซึ่งก็เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องของการสร้างกำไรได้สูงสุด แต่แท้ที่จริงแล้วหากพวกเขาไม่สร้างเครือข่าย supply chain ที่เข้มแข็งให้กับตนเองแล้ว กลุ่มบริษัทเหล่านี้ก็จะไม่สามารถมายืนในจุดนี้ได้  โดยแสดงให้เห็นว่าถึงแม้คุณจะผลิตสินค้าได้ดีเพียงใด  หากคุณไม่สามารถส่งสินค้าคุณข้ามโลกไปยังลูกค้า หรือรับทราบความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงได้นั้นก็อาจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้


บริษัท Apple ยังได้ชื่อว่าเป็นสุดยอด supply chain ของโลกประจำปี 2009 อยู่ และจัดอยู่ในอันดับที่ 56 ของ Fortune 500  ซึ่งก่อนหน้านี้ สินค้าของ Apple จัดทำขึ้น เพื่อขายภายในประเทศ  โดยใช้เครือข่าย supply chain ที่มีความเข้มแข็งและกระตือรือร้น  ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ที่อยู่ใน iPhone และ iPod ถูกผลิตขึ้นในประเทศสิงคโปร์และไต้หวัน  ก่อนจะนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จที่ประเทศจีน  ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าสินค้า iPhone กว่า 4 รุ่นล้วนแต่ถูกผลิตขึ้นจากต่างประเทศ  และใช้วิธีนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศเป็นจำนวนหลาย  ซึ่งอาจจะมากกว่าการเดินทางระหว่างประเทศที่แต่ละคนเคยเดินทาง
บริษัท Apple ไม่ใช่บริษัทด้าน IT เพียงบริษัทเดียวที่มี supply chain สลับซับซ้อน  แต่ทั้งนี้ยังรวมถึงบริษัท Dell (5), Samsung  Electrics (7) , IBM (8), Research in  Motion (9), Microsoft (12) , Hewlett-Packard (15), Intel(18) และ Nokia (19)  ด้วย


Wal-Mart ห้างค้าปลีกสไตล์ Modern Trade ที่ถูกยกย่องเรื่อง Low Price มาเป็นเวลานาน และถูกจัดอยู่ในหนึ่งในสี่บริษัทมี supply chain ดีที่สุดในโลก  ซึ่งหากพิจารณาแล้วเรื่อง supply chain สำหรับ Wal-Mart อาจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของบริษัท  โดยในหลายปีที่ผ่านมาห้างค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ แห่งนี้ได้ประกาศแผนที่จะลดปริมาณการเรือนกระจกมากว่า 20 ล้านตัน ตลอดทั้ง supply chain  ในปี 2015 ซึ่งเท่ากับการนำรถยนต์ออกจากถนนจำนวน 3.8 ล้านคันในเวลา 1 ปี ซึ่งคิดเป็นมากกว่า 1 ในสามของรถยนต์ทั้งประเทศไทย(รถยนต์ภายในประเทศไทย สิ้นสุดปี 2553 มีประมาณ 10 ล้านคัน)  นอกจากนี้บริษัทยังถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของ Fortune 500  ด้วย  โดยสามารถรายได้มากขึ้นกว่าจากปีก่อนเป็น 14.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ( 4.63 แสนล้านบาท)  จัดอยู่ในอันดับ 3 ของบริษัทที่สามารถสร้างกำไรได้มากที่สุดของโลก
                นอกจากนี้บริษัทอื่นๆ ที่น่าสนใจได้แก่  บริษัทเครื่องดื่ม PepsiCola (5)  และบริษัท Coca-Cola (13)  ตามด้วยบริษัทซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เนท Amazon.com (10)  และบริษัทอุปกรณ์กีฬา Nike (16) 
                รวมสุดยอดกลุ่ม supply chain ของโลกประจำปี 2010 ดังนี้
1. Apple                                              Industry: Computer Hardware
CEO: Steve Jobs                                Fortune 500 Ranking: 56


2. Procter & Gamble                       Industry: Consumer Goods
CEO: Bob McDonald                       Fortune 500 Ranking: 22
No. 4 Most Profitable Company (2009 profits: $13.4 billion)


3. Cisco                                                 Industry: Computer Networking
CEO: John Chambers                       Fortune 500 Ranking: 58


4. Wal-Mart Stores                          Industry: Retail
CEO: Mike Duke                               Fortune 500 Ranking: 1
No. 3 Most Profitable Company (2009 profits: $14.3 billion)

5. Dell                                                    Industry: Computer Systems
CEO: Michael Dell                            Fortune 500 Ranking: 38

6. PepsiCo                                        Industry: Food, Beverages
CEO: Indra Nooyi                             Fortune 500 Ranking: 50

7. Samsung Electronics                  Industry: Consumer Electronics
CEO: Lee Yoon-woo                        Fortune 500 Ranking: N/A

8. IBM                                                   Industry: Computer Systems         
CEO: Samuel J. Palmisano             Fortune 500 Ranking: 20

9. Research in Motion                     Industry: Telecommunications (Black Berry)
Co-CEOs: Mike Lazaridis, Jim Balsillie                     Fortune 500 Ranking: N/A


10. Amazon.com                               Industry: Online retail
CEO: Jeffrey Bezos                           Fortune 500 Ranking: 100

11. McDonalds                                   Industry: Fast Food
CEO: James Skinner                         Fortune 500 Ranking:108

12. Microsoft                                      Industry: Computer Systems
CEO: Steve Ballmer                         Fortune 500 Ranking: 36
No. 2 Most Profitable Company (2009 profits: $14.6 billion)

13. Coca-Cola                                    Industry: Food, Beverage
CEO: Muhtar Kent                            Fortune 500 Ranking: 72
No. 18 Most Profitable Company (2009 profits: $6.8 billion)

14. Johnson & Johnson                  Industry: Healthcare
CEO: William C. Weldon               Fortune 500 Ranking: 33
No. 10 Most Profitable Company (2009 profits: $12.3 billion)

15. Hewlett-Packard                       Industry: Computer Systems
CEO: Léo Apotheker                        Fortune 500 Ranking: 10
No. 17 Most Profitable Company (2009 Profits: $7.7 billion)

16. Nike                                                Industry: Clothing
CEO: Mark Parker                            Fortune 500 Ranking: 124

17. Colgate-Palmolive                     Industry: Personal Products
CEO: Ian Cook                                   Fortune 500 Ranking: 151

18. Intel                                                Industry: Computer Systems
CEO: Paul Otellini                            Fortune 500 Ranking: 62

19. Nokia                                             Industry: Telecommunications
CEO: Olli-Pekka Kallasvuo            Fortune 500 Ranking: N/A

20. Tesco                                              Industry: Retail
CEO: Sir Terry Leahy                     Fortune 500 Ranking: N/A

21. Unilever                                        Industry: Conglomerate
CEO: Paul Polman                            Fortune 500 Ranking: N/A

22. Lockheed Martin                       Industry: Aerospace
CEO: Robert Stevens                        Fortune 500 Ranking: 44


23. Inditex                                           Industry: Fashion, Retail
CEO: Pablo Isla                                 Fortune 500 Ranking:

24. Best Buy                                        Industry: Retail
CEO: Brian Dunn                              Fortune 500 Ranking: 45

25. Sclumberger                                Industry: Oilfield Services
CEO: Andrew Gould                        Fortune 500 Ranking: N/A

              ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัท Toyota ไม่ติดอันดับ 1 ใน 25 ประจำปี 2010 ทั้งที่ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมาบริษัทติดอันดับ 1 ใน 10 มาโดยตลอด  นอกจากนี้บริษัทด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร ยังครองตำแหน่งใน 25 แรกเป็นจำนวนมาก  โดยเมื่อเทียบกับปี 2007 - 2009 บริษัทส่วนใหญ่ที่ติด 25 อันดับแรกยังค่อนข้างคละกันระหว่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร ร้านค้าปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภค  ซึ่งชี้ให้เห็นว่ายุคของบริษัทคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร ยังคงมีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของ supply chain โลก
          และในปี 2011 นี้ยังคงต้องดูต่อไปว่าหลังจากเริ่มยุคของ Social Media อย่างจริงจังแล้ว  เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นกับ supply chain ของโลกบ้าง และอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เคยติดอันดับ 25 supply chain โลก จะสามารถกลับเข้าสู่วงจรนี้อีกได้หรือไม่ ?