สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการขนส่ง คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ได้ดำเนินการจัดทำบล็อกดังกล่าวนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1.เพื่อรวบรวมบทความที่น่าสนใจด้านโลจิสติกส์และการจัดการระบบซัพพลายเชนให้กับบุคคลที่สนใจทราบ 2.เพื่อประชาสัมพันธ์งานวิจัยของนักศึกษาในสาขาให้กับบุคคลทั่วไปได้ทราบ ซึ่งมีทั้งส่วนที่มาจากการศึกษาในสถานประกอบการของสหกิจศึกษา และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดการโลจิสติกส์ที่เราควรรู้


แนวความคิดทางด้านโลจิสติกส์นั้นมีมานานมากแล้ว  โดยจุดเริ่มต้นของการใช้คำนี้มาจากแวดวงทางการทหาร  ที่ใช้ในการส่งสรรพกำลังสนับสนุนการรบ  ตั้งแต่ตัวทหาร ยุทธ์โธปกรณ์ เสบียงอาหาร เสื้อผ้า ไปจนถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ  เพื่อนำมาซึ่งชัยชนะในการรบ  ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  จากหนังสือ The Art of War ของซุนวูได้มีการกล่าวถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางกลยุทธ์และยุทธวิธีในการรบ  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และการบริหารความสัมพันธ์ด้านโลจิสติกส์
ทั้งนี้ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมาเรื่องของโลจิสติกส์กลับมามีการพูดกันมากขึ้นนอกเหนือจากวงการทหาร แต่กลับเข้ามาสู่แวดวงทางธุรกิจ  การบริหารงาน  และการจัดสรรทรัพยาการต่างๆ  ซึ่งสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด คือ หนังสือที่อาจารย์หรือศาสตราจารย์ในชาติตะวันตกได้นำมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น  Business Logistics Management,  Logistics and Supply Chain Management,  Logistics Manage Management,  Industrial Logistics Management เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงนิยาม และความหมาย ของคำว่าโลจิสติกส์ หรือการจัดการโลจิสติกส์มากขึ้น  ผู้เขียนจึงขอนำเสนอความหมายของคำดังกล่าวจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1.  The International Society of Logistics
Logistics is The art and science of management, engineering and technical activities concerned with requirements, design and supplying and maintaining resources to support objectives, plan and operations.
"โลจิสติกส์ คือ ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ  วิศวกรรม  และกิจกรรมทางเทคนิคที่ตระหนักถึงความต้องการ  การออกแบบการจัดหา และบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการสนับสนุนการกำหนดวัตถุประสงค์  การวางแผน และการปฏิบัติการ"
2. Council of Supply Chain Management Professional : 2004
Logistics Management is that part of Supply Chain Management that plans, implements and controls the efficient, effective (forward and reverse) flow and storage of goods, service and related information between the point-of-origin to and point-of-consumption for purpose of conforming to customer’s requirement
"การจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของระบบโซ่อุปทานที่มีกระบวนการในการวางแผน  การนำไปปฏิบัติ  และการควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และการจัดเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูล  จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้ายที่ผู้บริโภค  เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า"
3. Institute of Logistics and Transport
Logistics Management is Providing time and place utility, value of materials and products in support to organization objectives
"โลจิสติกส์ คือ การจัดสรรเวลาและสถานที่ เพื่อใช้ในการสร้างสินค้าให้เกิดมูลค่าขึ้น  เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์"
อย่างไรก็ตามหากผู้อ่านอยากจะจำความหมายของโลจิสติกส์ หรือ การจัดการโลจิสติกส์ขอเสนอแนะให้จำเป็นคำๆ โดยประยุกต์นิยามของ CSCMP  ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการศึกษา  งานวิจัย  เครือข่ายผู้ประกอบการ และกรณีศึกษาต่างๆ ในด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนน์  ดังนี้





 สรุปจากวงล้อ  เริ่มจาก การวางแผน  การนำไปประยุกต์ใช้  การดำเนิงงานจริง  และการควบคุมให้ตามเป้าหมายในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ  การเคลื่อนย้าย  การจัดเก็บ  การรวบรวม และการกระจาย  ของสินค้า  บริการ ข้อมูลข่าวสาร และเงิน  โดยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  ซึ่งต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก  
ดังนั้นเมื่อวงล้อหมุดกลับมาที่จุดเริ่มต้นใหม่  เราก็ต้องใช้ข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาวางแผนการดำเนินงานใหม่  ทำให้วงล้อดังกล่าวเป็นวงล้อที่ไม่มีวันที่สิ้นสุดของการจัดการด้านโลจิสติกส์



กิจกรรมโลจิสติกส(Logistics Activities) 
STOCK and LAMBERT  2 กูรูด้านโลจิสติกส์ที่หลายสถาบัน  ทั้งไทยและเทศ ยอมรับ และนำหนังสือของเขามาใช้สอน ได้กล่าวถึงกิจกรรมในโลจิสติกส์ว่า แบ่งออกเป็น 13 กิจกรรม  และแยกออกอีกเป็น 2 กลุ่ม คือ กิจกรรมหลัก  และกิจกรรมเสริม หรือกิจกรรมสนับสนุกิจกรรมโลจิสติกส   ดังตาราง

แต่หากกลับมามองในธุรกิจแต่ละบริษัทก็มีการประยุกตใชในระดับที่แตกตางกัน บางบริษัทก็ใชเพียงบางกิจกรรม บางบริษัทก็ดําเนินงาน ครบถวนทุกกิจกรรมซึ่งมีหลายกิจกรรม  และเมื่อมีการผสานเข้ากับการบริหารซัพพลายเชนน์แล้ว  ก็สามารถสรุปเป็นภาพกระบวน  ดังนี้



ซึ่งการมองในระดับ Supply Chain  นี้จะไม่เพียงแค่มองเรื่องการจัดการ และการบริหารภายในองค์กรตนเองเท่านั้น  แต่จะเป็นการมองผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการ  ตั้งแต่ผู้ส่งวัตถุดิบให้กับโรงงาน  ไปจนถึงมือผู้บริโภค  ส่วนสาเหตุที่เราเรียกว่า Supply Chain  ไม่ใช่ Demand Chain  ก็เพราะว่าสิ่งที่เป็นตัวการขับเคลื่อนของระบบนี้ คือ สินค้าหรือบริการ ที่บริษัทต้องมีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ( 7Right  in Logistics : Product Quantity Condition Place Time Cost and Customer)  มิใช่ใช่การบริหารต้องการ  แต่เป็นการบริหาร Physical Supply  ตาม Demand